วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

สนามแม่เหล็ก

แม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก
แม่เหล็กหมายถึงสารซึ่งมีสมบัติดังต่อไปนี้ ...

 1. สามารถก่อให้เกิดแรงดูดหรือแรงพลักกับแม่เหล็กได้
2. มีขั้ว 2 ชนิดคือขั้วเหนือและขั้วใต้ขั้วทั้งสองของแม่เหล็กแท่งเดียวกันจะมีกำลังเท่ากันเสมอ
3. เมื่ออยู่ในภาวะอิสระสามารถเคลื่อนที่คล่องตัวในแนวราบ จะวางตัวในแนวเหนือใต้เสมอ
4. ขั้วชนิดเดียวกันจะพลักกัน ขั้วต่างชนิดกันจะดูดกัน
5. สามารถเหนี่ยวนำให้สารแม่เหล็กกลายเป็นแม่เหล็กได้
6. อำนาจแม่เหล็กมีคุณสมบัติทำให้ประจุไฟฟ้าเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ประจุไฟฟ้าบวกกับประจุไฟฟ้าลบจะเปลี่ยนทิศทางในสนามแม่เหล็กไปในทางตรงกันข้าม
7. อำนาจแม่เหล็กทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้




สนามแม่เหล็ก ......

เมื่อมีแม่เหล็กวางอยู่ ณ ตำแหน่งใดๆก็ตาม แม่เหล็กนั้นจะส่งอำนาจแม่เหล็กไปรอบบริเวณนั้น ถ้าเอาแม่เหล็กที่อื่นหรือวัตถุที่เป็นสารแม่เหล็กเข้าไปในบริเวณนั้นจะเกิดมีแรงแม่เหล็กส่งมากระทำทันทีจากแม่เหล็กที่วางอยู่นั้นอย่างที่เราถือว่าแม่เหล็กหรือสารแม่เหล็กที่เรานำเข้าไปทีหลังเข้าไป
อยู่ในบริเวณซึ่งเป็น สนามแม่เหล็กของแม่เหล็กอันแรกถ้าเราถอยแม่เหล็ก
หรือสารแม่เหล็กออกมาให้ห่างมากๆแรงแม่เหล็กที่เคยเกิดขึ้นดังกล่าว
จะหมดไปหมายความว่า แม่เหล็กอันแรงส่งแรงไปกะะทำไม่ถึงจึงเห็นได้ว่า....



เส้นแรงแม่เหล็ก ( Magnetic Lines of Force )



สมบัติของเส้นแรงแม่เหล็ก ...


จุดสะเทิน ( Neutural Poite ) คือจุดที่มีค่าความเข้มของสนามแม่เหล็กเป็นศูนย์
 
จุดสะเทินที่เกิดขึ้นเมื่อแท่งแม่เหล็กวางในสนามแม่เหล็กโลก


 



1. มีทิศทางออกจากขั้วเหนือไปขั้วใต้และมีความหนาแน้นมากบริเวณขั้วแม่เหล็กส่วนทิศทางของ
เส้นแรงแม่เหล็กโลกจะมีทิศทางจากขั้วโลกใต้สู่ขั้วโลกเหนือ
2. เส้นแรงแม่เหล็กไม่ตัดกันแต่จะรวมกันออกไปหรือต้านกันถ้ามีแม่เหล็กมากกว่า 1 ทำ
ให้เกิดจุดสะเทิน
เป็นเส้นสมมุติเหมือนว่าแท่งแม่เหล็กส่งอำนาจไปถึงวิธีหาเส้นแรงแม่เหล็กหาได้โดย
1. ใช้ผงตะไบเหลล็ก โรบลงบนกระดาษที่วางทับแม่เหล็กเอาไว้ เมื่อเคาะกระดาษเบาๆ
จะมองเห็นแนวของเส้นแรง
2. ใข้เข็มทิศ แนวทางการวางตัวของเข็มทิศคือแนวของเส้นแรงแม่เหล็ก วิธีการนี้ทำให้
เห็นว่าเส้นแรงแม่เหล้กม่ทิศทางออกจากขั้วเหนือไปสู่ขั้วใต้เสมอ

สนามแม่เหล็กคือ .. บริเวณหรือของเขตที่แม่เหล็กส่งอำนาจ
การดึงดูดออกไปถึง อำนาจแม่เหล็กที่ส่งออกจากแท่งแม่เหล็ก ส่งออกมาในรูปของเส้นแรงแม่เหล็ก

ประโยชน์จากความรู้เรื่อง ความเร่ง

จรวด (Rocket)

 เมื่อพูดถึงจรวด เราหมายถึงอุปกรณ์สำหรับสร้างแรงขับดันเท่านั้น
หน้าที่ของจรวดคือ การนำยานอวกาศ ดาวเทียม หรืออุปกรณ์ประเภทอื่นขึ้นสู่อวกาศ แรงโน้มถ่วง (Gravity) ของโลก ณ พื้นผิวโลกมีความเร่งเท่ากับ 9.8 เมตร/วินาที 2 ดังนั้นจรวดจะต้องมีแรงขับเคลื่อนสูงมาก เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก
จรวดทำงานตามกฎของนิวตัน ข้อที่ 3 “แรงกริยา = แรงปฏิกิริยา” จรวดปล่อยก๊าซร้อนออกทางท่อท้าย (แรงกริยา) ทำให้จรวดเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (แรงปฏิกิริยา)


เราแบ่งประเภทของจรวดตามชนิดของเชื้อเพลิงออกเป็น 2 ประเภท คือ


จรวดเชื้อเพลิงเหลว มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เพราะต้องมีถังเก็บเชื้อเพลิงเหลว และออกซิเจนเหลว (เพื่อช่วยให้เกิดการสันดาป) ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และยังต้องมีท่อและปั๊มเพื่อลำเลียงเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเครื่องยนต์เพื่อทำการเผาไหม้ จรวดเชื้อเพลิงเหลวมีข้อดีคือ สามารถควบคุมปริมาณการเผาไหม้ และปรับทิศทางของกระแสก๊าซได้
จรวดเชื้อเพลิงแข็ง มีโครงสร้างไม่สลับซับซ้อน แต่เมื่อการเผาไหม้เชื้อเพลิงเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถหยุดได้